วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

กลองมะโหระทึกสำริด (Bronze drum)

ที่มา :  https://th.wikipedia.org/wiki/
        หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินเสียงลือเสียงเล่าอ้างต่าง ๆ นานา เกี่ยวกับโบราณวัตถุมากมายหลายชิ้น ซึ่งแน่นอนว่ามีความสำคัญต่อการศึกษาทางโบราณคดีเป็นอย่างมาก ไม่แค่นั้น โบราณวัตถุแต่ละชิ้นยังสามารถบอกอะไรหลายๆอย่างให้เราได้รู้อีกด้วย วัฒนธรรมเอย ความเชื่อเอย เยอะแยะไปหมด  ดังนั้นในครั้งนี้เราจึงมาทำความรู้จักกับโบราณวัตถุกันสักชิ้นหนึ่ง  นั่นก็คือ "กลองมโหระทึกสำริด" นั่นเองงงง



       “กลองมโหระทึก” เป็นกลองชนิดหนึ่งที่ทำจากโลหะผสมระหว่างทองแดง ดีบุกและตะกั่ว เรียกว่า สำริด บนหน้ากลองมักทำรูปกบประดับตกแต่งจึงมีอีกชื่อว่า “กลองกบ”  
        กลองมโหระทึก  มีชื่อแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบและความเชื่อของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ  เช่น  ในภาคเหนือของไทยและพม่า  เรียกว่า  ฆ้องกบหรือฆ้องเขียด  เนื่องจากมีรูปกบหรือเขียดปรากฏอยู่บนหน้ากลอง  จีนเรียกว่า  ตุงกู่  (Tung Ku)  อังกฤษ  เรียกว่า  Kettle  drum  หรือ  Bronze  drum เป็นต้น  กลองมโหระทึก  ทำด้วยโลหะผสมระหว่างทองแดงและดีบุก  มีลักษณะรูปร่างคล้ายทรงกระบอก  ส่วนหน้ากลองและฐานกลองผายออก หน้ากลองเป็นแผ่นเรียบ  ภายในกลวง
        อันที่จริงแล้ว "มโหระทึก" เป็นคำโบราณที่ยืมมาจากต่างประเทศแล้วกร่อนจนเพี้ยนไป มีใช้อยู่ในเอกสารไทยสมัยก่อนๆ ไม่ใช่คำไทยแท้ แต่ เช่น ไตรภูมิเรียกว่า "มโหระทึก" แต่กฎมณเฑียรบาลเรียก "หรทึก" จัดเป็นเครื่องประโคมตีชนิดหนึ่งมีเสียงดังมาก ในกฎมณเฑียรบาลจึงบอกว่า "ขุนดนตรีตีหรทึก" และในไตรภูมิบอกว่า "มโหระทึกกึกก้อง" แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็น "กลอง" หรือ "ฆ้อง"
       
        เมื่อมาถึงปัจจุบันมักจัดมโหระทึกเป็นประเภทกลอง เพราะมีรูปร่างคล้ายกลอง จึงเรียกกันติดปากว่า  "กลองมโหระทึก" แต่มโหระทึกทำด้วยโลหะผสมที่เรียกว่าสำริด (Bronze) ในตระกูลฆ้อง แล้วมักมีประติมากรรมรูปกบขนาดเล็กๆ ประดับขอบแผ่นหน้า คนบางกลุ่มจึงเรียก "ฆ้องกบ" หรือ "ฆ้องเขียด" แต่เอกสารจีนเรียก "กลองทองแดง" เพราะมีส่วนผสมของทองแดงเป็นโลหะหลัก ส่วนชาว จ.มุกดาหารมักเรียกมโหระทึกว่า "กลองทอง"
         คนสมัยก่อนมีความเชื่อเรื่องผี และอำนาจเหนือธรรมชาติความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาอาหารเกิดขึ้นจากการดลบันดาลของเทวดา ผีฟ้า ผีแถนที่อยู่บนฟ้าเมื่อใดเกิดความแห้งแล้งจำต้องทำพิธีกรรมบูชาผีฟ้า ผีแถนให้เกิดความพอใจ โดยการตีกลองกบเพื่อส่งสัญญาณขอฝน พร้อมร้องรำทำเพลงประกอบไปกับท่าเต้นกบกระโดด รวมถึงใช้กลองมโหระทึกตีประกอบในพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย เช่น ใช้ตีเรียกวิญญาณผู้ตายให้มารับของ เซ่นไหว้ หรือใช้เป็นที่ตั้งวางของเซ่นสังเวย



                                  ที่มา :  https://janthimablog.files.wordpress.com/2013/09/02.jpg

ต้นกำเนิด

         ทฤษฎีที่มีพื้นฐานอยู่บนแนวความคิดที่ว่าการถลุงสำริดในเอเชียตะวันออกมีต้นกำเนิดในทางตอนเหนือของประเทศจีนนั้น ได้ถูกลบล้างจากการค้นพบทางโบราณคดีในภาคอีสานของประเทศไทยในช่วงทศวรรษที่ 1970 ศาสตราจารย์ Clark D. Neher แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นอิลลินอยส์กล่าวไว้ว่า "การถลุงสำริดมีจุดกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และต่อมาจึงชาวจีนจึงได้รับเทคโนโลยีนี้ไป ไม่ใช่อย่างที่นักวิชาการชาวจีนอ้างไว้ในทางกลับกัน"

         คำอธิบายดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากผลงานของนักโบราณคดีชาวเวียดนาม ซึ่งได้ค้นพบว่ากลองมโหระทึกที่เก่าแก่ที่สุดมีความเกี่ยวข้องทางด้านรูปร่างและลวดลายกับเครื่องปั้นดินเผาของวัฒนธรรม Phung Nguyen นักวิชาการยังไม่สามารถสรุปได้ว่ากลองมโหระทึกมีไว้ใช้ทำอะไร ระหว่างพิธีกรรมทางศาสนาหรือเหตุผลอื่น ๆ ลวดลายแกะสลักต่าง ๆ ที่พบบนกลองนั้นทำให้พิจารณาได้ว่ากลองมโหระทึกเป็นกลองที่ใช้เป็นเหมือนปฏิทินบอกฤดูกาล  ข้อสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ในลวดลายที่สลักอยู่บนกลองนั้น มีรูปม้วนกระดาษอยู่ด้วย ซึ่งอาจจะบ่งชี้ได้ว่ากลุ่มคนที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมดงเซินเป็นชนกลุ่มแรกที่รู้จักวิธีการผลิตกระดาษ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ยังเป็นเพียงทฤษฎีที่นำเสนอโดยนักวิชาการชาวเวียดนามเท่านั้น

          กลองมโหระทึกเป็นตัวแทนของอารยธรรมเริ่มแรกของภูมิภาคและเป็นวัฒนธรรมที่โดดเด่นอย่างหนึ่งในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นวัฒนธรรมความเชื่อของกลุ่มชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องถึงสมัยต้นประวัติศาสตร์ การพบกลองมโหระทึกเป็นหลักฐานที่ชี้ให้ถึงภูมิปัญญาและความรู้ความสามารถทางด้านศิลปกรรมและเทคโนโลยีของคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่น้อยกว่า 3,000 ปี มาแล้ว ก่อนที่จะรับอารยธรรมจากอินเดียและจีน นอกจากนั้นยังบ่งบอกถึงสัญลักษณ์ของอำนาจของมนุษย์ที่สามารถผลิตเครื่องมือสำริดที่ใช้โลหะสำคัญในการผลิตเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญยังมีลวดลายที่บ่งบอกถึง “ความอุดมสมบูรณ์” เช่น ลายปลา ลายคลื่นน้ำ หรือมีรูปประติมากรรมรูปกบประดับตามมุม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของน้ำหรือฝนนั่นเอง

         มโหระทึกไม่ใช่สมบัติวัฒนธรรมของพวกฮั่น (จีน) มาแต่เดิม เพราะเอกสารจีนโบราณระบุว่า เป็นของพวกป่าเถื่อนทางใต้ สมัยหลัง ๆ ต่อมายังเรียกมโหระทึกว่า "หนานถงกู่" หมายถึงกลองทองแดงของพวกชาวใต้ แต่มโหระทึกเป็นสัญลักษณ์ของอารยธรรมเริ่มแรกของภูมิภาคอุษาคเนย์ และมีอายุไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว เพราะในวัฒนธรรมจ้วง กว่างซียังมีประเพณีประโคมตีมโหระทึกในหมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อบูชากบ และขอฝน สืบมาจนทุกวันนี้



                                       ที่มา :  https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/153/

ลักษณะลวดลาย 

         ลักษณะของกลองมโหระทึกใบนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 86 เซนติเมตร ก้นกลอง 90 เซนติเมตร สูง 66 เซนติเมตร นับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขณะนี้
       
         บริเวณหน้ากลองมีลายนูนเป็นรูปคล้ายดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ มีรัศมี 14 แฉก แล้วมีประติมากรรมรูปกบประดับ 4 มุม ๆ ละตัวด้าน นักโบราณคดีกำหนดอายุตามรูปแบบ และลวดลายว่ามีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 5-6- (หรือหลัง พ.ศ. 400-500)



วัตถุประสงค์ในการผลิตกลองมโหระทึก1. ใช้เป็นเครื่องแสดงฐานะความมั่งคั่ง
2. ใช้เป็นวัตถุสำคัญประกอบในพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย
3. ใช้ตีเป็นสัญญาณในการสงคราม
4. ใช้ตีประกอบในพิธีกรรมขอฝน
5. ใช้ตีเพื่อการบำบัดรักษาโรคทางไสยศาสตร์



กลองมโหระทึกที่พบในไทย

         ยุคโลหะในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 3,000-5,000 ปีที่ผ่านมา โดยมนุษย์ในสมัยนั้นมีการนำโลหะสำริด ทองคำ และเหล็ก มาหล่อและตีขึ้นรูปเป็นเครื่องใช้ต่างๆ ได้เท่าหรือดีกว่ามนุษย์ยุคเดียวกันในส่วนอื่นของโลก ซึ่งมีการค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายที่ เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง โดยนักโบราณคดีจะพบโครงกระดูกมนุษย์และเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ โดยเฉพาะที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงที่เกิดปัญหาว่า ขุดค้นพบเครื่องมือ เครื่องใช้ ซึ่งตัดสินว่าเป็นของมนุษย์ยุคโลหะตอนปลาย แต่เมื่อได้ส่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไปพิสูจน์อายุ โดยวิธีเทอโมลูเนสเซ็นส์ (thermoluminescence) แล้วปรากฏผลว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ขุดได้จากระดับความลึก 70-80 เซนติเมตรจากผิวดิน มีอายุประมาณ 5,554-460 ปีมาแล้ว และอีกชิ้นส่วนได้จากระดับความลึก 120 เซนติเมตร มีอายุประมาณ 5,574-175 ปีมาแล้ว นักโบราณคดีบางท่าน จึงสรุปว่ามนุษย์ผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมบ้านเชียงนั้นได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมเหล่านี้ไว้เมื่อประมาณ 5,000-7,000 ปีมาแล้ว



                                                ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/

        สำหรับในดินแดนประเทศไทย พบมโหระทึกทั่วทุกภาค เช่นพบที่ นครพนม มุกดาหาร อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ กาญจนบุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา และสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้การพบมโหระทึกในที่ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล แสดงออกให้เห็นถึงเส้นทางคมนาคมที่มนุษย์มีการติดต่อไปมาหาสู่กันทั้งภูมิภาค และทั้งทางบก – ทางทะเล มาตั้งแต่สมัยอดีตกาลแล้
       
   
     มโหระทึกในประเทศไทยสมัยโบราณก็เป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดิน ดังมีหลักฐานอยู่ในกฎมณเทียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยาใช้มโหระทึกประโคม ตีในงานพระราชพิธีและที่เกี่ยวกับ ความอุดมสมบูรณ์ของอาณาจักร แล้วยังสืบเนื่องมาถึงสมัยกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ ดังที่ใช้ประโคมตีในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัล แรกนาขวัญที่ท้องสนามหลวงทุกปี เป็นต้น



เอกสารอ้างอิง

ณัฐกานต์  พิภูษณกาญจน์.(ุ6 กันยายน 2556).กลองมโหระทึกโบราณวัตถุชิ้นสำคัญในพิพิธภัณฑ์ฯ ชุมพร.
         ค้นเมื่อ 23  กุมภาพันธ์ 2561,จาก https://www.gotoknow.org/posts/4669

Anacarika.(26 เมษายน 2558).กลองมโหระทึกสำริด พบที่จังหวัดนครศรีธรรมราช.
         ค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์     2561,จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/grunakorn/2015/04/26/entry-2

Janthimablog.(16 กันยายน 2556).กลองมโหระทึก.ค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์  2561,
         จาก https://janthimablog.wordpress.com/category/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นครพันปี...ธานีศรีเทพ (Si Thep Historical Park) #Thailand #Phetchabun #Archaeology

ที่มา : http://www.museumthailand.com/upload/slide/1469764917_4744.jpg     สวัสดีเพื่อน ๆ ทุกคน 😃 วันนี้เราก็กลับมาพบกันอีกเช่นเคยน...