ที่มา : http://www.museumthailand.com/upload/slide/1469764917_4744.jpg |
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เป็นโบราณสถานสำคัญที่น่าสนใจศึกษาหาความรู้มากที่สุดแห่งหนึ่งของเพชรบูรณ์ ได้รับรางวัล Thailand Tourism Award ประจำปี 2543 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโบราณสถานยอดเยี่ยม ปรางค์ศรีเทพ คือเมืองโบราณ ที่มีลักษณะเป็นกลุ่มโบราณสถานซึ่งกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลงล้อมรอบ ปราสาทประธานก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่
อุทยานมีพื้นที่ครอบคลุมโบราณสถานในเมืองเก่าศรีเทพ เดิมมีชื่อว่า "เมืองอภัยสาลี" ถูกค้นพบเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์ และได้ทรงเรียกเมืองนี้เสียใหม่ว่า "เมืองศรีเทพ" เมื่อปี พ.ศ. 2447-2448 เมืองโบราณศรีเทพนี้มีลักษณะเป็นเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ ที่ตั้งของเมืองอยู่ในชุมทาง ที่สามารถติดต่อกับภาคอื่น ๆ ได้สะดวก ดังนั้น จึงได้รับอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมจากอาณาจักรข้างเคียง มาผสมผสาน เช่น ศิลปะทวารวดี ศิลปะขอม เป็นต้น เมืองศรีเทพสร้างขึ้นในยุคของขอมเรืองอำนาจ ซึ่งคาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี โดยดูจากหลักฐานทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และวัฒนธรรมที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความเจริญสูงสุดทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม สันนิษฐานว่าเจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16
ศรีเทพเป็นเมืองโบราณที่อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพ อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ประมาณ 107 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอวิเชียรบุรีประมาณ 25 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณสองพันไร่เศษ มีกำแพงเมืองที่ก่อด้วยดินล้อมรอบ และมีคูเมืองนอกกำแพง มีประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ภายในเมืองมีปรางค์สมัยลพบุรีอยู่สององค์ เรียกว่า ปรางค์องค์พี่และปรางค์องค์น้อง ทางทิศเหนือนอกกำแพงเมืองออกไปมีสระน้ำสองแห่ง ชื่อสระแก้วและสระขวัญ ในสมัยก่อนเมืองศรีเทพต้องส่งส่วยน้ำจากสระทั้งสองนี้ เพื่อนำไปใช้ทำน้ำพิพัฒยสัตยา เพราะถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์
โบราณสถานที่สำคัญ
ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ
อยู่ห่างจากประตูทางเข้าเล็กน้อยทางด้านซ้ายมือ ศาลเจ้าพ่อศรีเทพไม่ใช่โบราณสถาน แต่เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป โดยทุกปีจะมีงานบวงสรวง ในราวเดือนกุมภาพันธ์ (ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3)
"ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ" ที่มา : https://www.bloggang.com/data/s/shiryu/picture/1501412177.jpg |
ปรางค์ศรีเทพ
เป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะขอมหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ลักษณะของปรางค์สร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ฐานล่างก่อด้วยศิลาแลงเป็นฐานบัวลูกฟัก แบบเดียวกับสถาปัตยกรรมเขมรทั่ว ๆ ไป เรือนธาตุก่อด้วยอิฐ ในการขุดค้นบริเวณนี้พบชิ้นส่วนทับหลังรูปลายสลักราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างเพิ่มหลังจากโบราณสถานเขาคลังใน ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 มีการพยายามจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่แต่ไม่สำเร็จ โดยได้พบชิ้นส่วนทิ้งกระจัดกระจาย
"ปรางค์ศรีเทพ" ที่มา : https://www.bloggang.com/data/s/shiryu/picture/1501412263.jpg |
สระแก้วสระขวัญ
สระแก้วจะอยู่นอกเมืองไปทิศเหนือ ส่วนสระขวัญจะอยู่ในบริเวณเมืองส่วนนอก สระน้ำทั้งสองสระนี้มีน้ำขังตลอดปี และเชื่อกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีการนำน้ำทั้งสองสระนี้ไปทำน้ำพิพัฒน์สัตยา ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน
"สระแก้วสระขวัญ" ที่มา : https://www.bloggang.com/data/s/shiryu/picture/1501412287.jpg |
โบราณสถานเขาคลังใน
เชื่อกันว่าเป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติต่าง ๆ จึงเรียกว่า "เขาคลัง" การก่อสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ที่ฐานมีรูปปูนปั้นบุคคล และสัตว์ประดับเป็นศิลปะแบบทวารวดีมีลักษณะศิลปะแบบเดียวกับที่พบที่เมืองคูบัว โบราณสถานบ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ และวัดนครโกษา จังหวัดลพบุรี จะเห็นว่าเขาคลังในตั้งอยู่เกือบกลางเมือง ลักษณะทางผังเมืองจะคล้ายกับเมืองทวารวดีอื่น ๆ เช่น เมืองนครปฐมโบราณ เมืองคูบัวที่ราชบุรี และจากรายละเอียดปูนปั้นบุคคลหรือลวดลาย แบบเดียวกับที่พบที่เมืองคูคล้าย
"เขาคลังใน" ที่มา : https://www.bloggang.com/data/s/shiryu/picture/1501412322.jpg |
ปรางค์สองพี่น้อง
ลักษณะเป็นปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพ มีประตูทางเข้าทางเดียวและจากการขุดแต่งทางโบราณคดี พบทับหลังที่มีจำหลักเป็นรูปพระอิศวรอุ้มนางปารพตี ประทับนั่งอยู่เหนือโคอศุภราช ซึ่งลักษณะของทับหลังและเสาประดับกรอบประตูเป็นสิ่งกำหนดอายุของปรางค์ ซึ่งอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เป็นศิลปะขอมแบบบาปวนต่อนครวัด และได้มีการสร้างปรางค์องค์เล็กเพิ่ม โดยพบร่องรอยการสร้างทับกำแพงแก้วที่ล้อมรอบปรางค์องค์ใหญ่ ซึ่งอยู่ใต้ปรางค์องค์เล็ก และยังมีการก่อปิดทางขึ้นโดยเสริมทางด้านหน้าให้ยื่นออกมา และก่อสร้างอาคารขนาดเล็กทางทิศเหนือเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ระหว่างองค์ปรางค์ทั้งสองแห่งคือปรางค์สองพี่น้อง และปรางค์ศรีเทพจะมีกำแพงล้อมรอบ และมีอาคารปะรำพิธีขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป แสดงให้เห็นถึงลักษณะการวางผัง ในรูปของศาสนสถานศิลปะเขมรแบบเดียวกับที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย
"ปรางค์สองพี่น้อง" ที่มา : https://www.bloggang.com/data/s/shiryu/picture/1501412241.jpg |
โบราณสถานอื่นๆ
นอกจากโบราณสถานหลักแล้วยังมีโบราณสถานย่อย ๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เช่น ทิศใต้ของเขาคลังใน พบโบสถ์ก่อด้วยศิลาแลง พบใบเสมาหินบริเวณใกล้หลุมขุดค้น และพบโบราณสถานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสมัยทวารวดี ซึ่งได้มีการก่อสร้างทับในระยะที่รับเอาศาสนาพราหมณ์เข้ามา จึงเห็นได้ว่าบริเวณเมืองชั้นในเดิมน่าจะเป็นเมืองแบบทวารวดีและมีการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรในระยะหลังเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ทางทิศใต้ยังพบอาคารมณฑปแบบทวารวดีขนาดใหญ่ และมีการพยายามเปลี่ยนแปลงให้เป็นเทวาลัยประมาณต้นศตวรรษที่ 18 แต่ไม่สำเร็จ เช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพ
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
เมืองศรีเทพ ปรากฏอยู่ในทำเนียบรายชื่อหัวเมือง เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จออกตรวจราชการที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จึงได้ออกค้นหาพบโบราณสถานขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “เมืองอภัยสาลี” จากหลักฐานที่พบมีทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานทั้งศิลปะแบบขอมและทวารวดี มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-18 ภายในอุทยานประกอบด้วย
ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมแบ่งส่วนจัดแสดงเป็นห้องต่างๆ เช่น ห้องประวัติการค้นพบ, ห้องยุคก่อนประวัติศาสตร์, ห้องศิลาจารึก, ห้องพระสุริยเทพ, ห้องศิวลึงค์, ห้องเมืองศรีเทพในปัจุบัน เป็นการสรุปข้อมูลเบื้องต้น
นั่นแนนนน อ่านมาถึงตรงนี้ ทุกคนคงอยากไปเยี่ยมชมที่นี่กันแล้วล่ะสิ เพื่อนๆ สามารถติดตามข่าวสาร รายละเอียดต่างๆ ได้จากทางแฟนเพจของอุทยานเลยนะคะ พบกันใหม่โอกาสหน้าค่าาา
Facebook แฟนเพจ: https://www.facebook.com/%E0%B8%AD
เมืองศรีเทพ ปรากฏอยู่ในทำเนียบรายชื่อหัวเมือง เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จออกตรวจราชการที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จึงได้ออกค้นหาพบโบราณสถานขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “เมืองอภัยสาลี” จากหลักฐานที่พบมีทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานทั้งศิลปะแบบขอมและทวารวดี มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-18 ภายในอุทยานประกอบด้วย
ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมแบ่งส่วนจัดแสดงเป็นห้องต่างๆ เช่น ห้องประวัติการค้นพบ, ห้องยุคก่อนประวัติศาสตร์, ห้องศิลาจารึก, ห้องพระสุริยเทพ, ห้องศิวลึงค์, ห้องเมืองศรีเทพในปัจุบัน เป็นการสรุปข้อมูลเบื้องต้น
นั่นแนนนน อ่านมาถึงตรงนี้ ทุกคนคงอยากไปเยี่ยมชมที่นี่กันแล้วล่ะสิ เพื่อนๆ สามารถติดตามข่าวสาร รายละเอียดต่างๆ ได้จากทางแฟนเพจของอุทยานเลยนะคะ พบกันใหม่โอกาสหน้าค่าาา
Facebook แฟนเพจ: https://www.facebook.com/%E0%B8%AD
เอกสารอ้างอิง
ทัวร์ออนไทย.(มปป.).อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ.ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2561 จาก https://www.touronthai.com/article/1268
ประเพณีไทยดอทคอม.(มปป.).เมืองเก่าศรีเทพ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ.ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2561 จาก http://www.prapayneethai.com/%E0%B9
Museum Thailand.(2560).อุทยานประวัติศาตร์ศรีเทพ.ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2561 จาก http://www.museumthailand.com/Si_Thep_Historical_Park_
ทัวร์ออนไทย.(มปป.).อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ.ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2561 จาก https://www.touronthai.com/article/1268
ประเพณีไทยดอทคอม.(มปป.).เมืองเก่าศรีเทพ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ.ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2561 จาก http://www.prapayneethai.com/%E0%B9
Museum Thailand.(2560).อุทยานประวัติศาตร์ศรีเทพ.ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2561 จาก http://www.museumthailand.com/Si_Thep_Historical_Park_
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น