Heyyy เฮ่เฮเฮ้!! สวัสดีเพื่อนๆ ทุกคนนน กลับมาเจอกันอีกแล้วจ้าา บล็อกนี้เขียนไว้ซะนาน เพิ่งมีโอกาสเผยแพร่ออกสู่สาธารณชน ถ้าจะเห็นอัพถี่ๆ นี่ไม่ใช่ขยันนะคะ ความจริงคือดองเค็มค่ะ5555555 เอาล่ะเนาะ เอ๊าะะะๆๆ ได้เวลาไปพบกับสาระของเรากันดีกว่า คราวนี้เราก็มาแนะนำอุทยานประวัติศาสตร์เช่นเคยค่ะ เป็นคิวของ ของ ของงงง อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรีหรือเขาวังนั่นเองจ้าาา ไปชมไปดูกันเล้ยยย 🙏
⇓⇓⇓⇓
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรีหรือเขาวัง เป็นสถานที่เที่ยวที่สำคัญของเพชรบุรีซึ่งถือได้ว่า เป็นสัญลักษณ์ของเมืองเพชรบุรี เพราะเมื่อเข้าสู่เมืองเพชรบุรี สิ่งที่จะได้เห็นโดดเด่นเห็นมาแต่ไกล คือ เขาวัง ซึ่งมีเจดีย์และอาคารสีขาวสะอาดเขาวังเป็นโบราณสถาน เก่าแก่คู่เมืองเพชรบุรี ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง 92 เมตร เดิมเรียกว่า เขาสมนหรือเขาคีรี
ที่ตั้ง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพอพระราชหฤทัยที่จะสร้างพระราชวังสําหรับเสด็จแปรพระราชฐานขึ้นบนยอดเขาแห่งนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาเพชรนิสัย ศรีสวัสดิ์ปลัดเมือง เพชรบุรีเป็นนายงานก่อสร้าง จนสําเร็จเรียบร้อยเมื่อปีพ.ศ.2403 ทรงพระราชทานนามว่า พระนครคีรี แต่ชาวเมือง เพชรเรียกกันติดปากว่า เขาวัง สืบมาจนบัดนี้
ที่มา : http://img.tlcdn4.com/travel/2014/02/p18frkgkqlai01fsihn21njg1bf51.jpg |
การก่อสร้าง
การก่อสร้างพระราชวังสร้างบนยอดเขาทั้งสามยอดคือ ยอดเขาทางทิศตะวันตก ทรงสร้างพระที่นั่งที่ประทับ ยอดเขาตะวันออกทรงสร้างวัดพระแก้วน้อยและยอดกลาง ทรงสร้างพระธาตุจอมเพชร พระราชทานนามว่า “ พระนครคีรี ”
ยอดเขาด้านทิศตะวันออก บริเวณไหลเขา เป็นที่ตั้งของ วัดมหาสมณาราม อยู่บริเวณเชิงเขาวัง เดิมชื่อวัดสมณะ หรือ วัดมหาสมน พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้เป็นที่ประทับเมื่อครั้ง ทรงผนวช ต่อมาเมื่อทรงสร้างพระนครคีรีแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัด แห่งนี้ พระราชทานนามว่า วัดมหาสมณาราม เรียกกันโดยทั่วไปว่า วัดเขาวัง ภายในโบสถ์ ฝาผนังทั้ง สี่ด้าน มีภาพ เขียนฝีมือขวัวอินโข่ง ซึ่งเป็นจิตรกรไทย คนแรก ที่ใช้วิธีการเขียนภาพแบบทัศนียวิทยา (perspective) คือ ใช้สีและแสงเงาในการวาด ให้เกิดมิติ มีระยะใกล้-ไกลและแบบภาพ มองจากมุมสูง (Birds-eye view) อย่าง ตะวันตก เป็นภาพเขียน เกี่ยวกับการไป นมัสการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนา
ยอดเขาด้านทิศตะวันออก เป็นที่ตั้งของวัดพระแก้วหรือวัดพระแก้วน้อย สร้างขึ้นเป็นวัดในเขตพระราชฐาน เช่นเดียวกับวัดพระแก้วใน พระบรมมหาราชวัง สิ่งที่ควรชมภายใน ได้แก่ - เจดีย์แดง ปรางค์จัตุรมุข ทาสีแดงทั้งองค์ - โบสถ์ มีสัดส่วนงดงามและมีหน้าบันเป็นลวดลายปูนปั้น รูปตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งเป็นตราประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าฯ จัดเป็นงานปูนปั้นที่มีชื่อเสียงชิ้นหนึ่งของเมืองเพชรบุรี - พระสุทธเสลเจดีย์ เป็นเจดีย์หินอ่อน สีเทาอมเขียว ที่มีประวัติการสร้างอันน่าทึ่ง คือ เมื่อสลักหินอ่อนเป็นชิ้น และประกอบที่เกาะสีชัง เสร็จแล้วได้รื้อนำลงเรือมาประกอบใหม่บนเขาแห่งนี้
ยอดเขาด้านทิศตะวันตก เป็นที่ตั้งของพระราชวังพระนครคีรี เป็นที่ตั้งของพระราชวังที่ประทับอันได้แก่
พระที่นั่งสันถาคารสถาน เป็นหมู่พระที่นั่งขนาดใหญ่ สำหรับต้อนรับแขกเมืองที่มาพักบนพระนครคีรี มีห้องรับ แขกอยู่ตรงกลาง สองข้างเป็นห้องนอน มีมุขหน้ายื่น - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี ปัจจุบันเป็นพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์และพระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์พระที่นั่งเพชรภูมิ ไพโรจน์เป็นพระที่นั่งองค์ใหญ่ที่สุดภายในจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดง เครื่องราชูปโภค เช่น พระแท่นบรรทม พระฉาย (กระจกเงา) บานใหญ่ เครื่องมุก เครื่องถ้วยชาม ตุ๊กตาโลหะฝีมือช่างยุโรป เป็นต้น พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ เป็นที่ประดิษฐาน พระแท่น บรรทมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท เป็นปราสาทยอดปรางค์ขนาดย่อมสร้างตามคติที่ว่าการสร้างพระราชวังใหญ่ จะต้องมีปราสาท ภายในประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์แบบที่เคยทรงในการเสด็จออกรับทูตานุฑูต - พระที่นั่งราชธรรมสภา สร้างด้วยศิลปะแบบผสมระหว่างไทย จีน และตะวันตก กล่าวคือ มีรูปทรงอาคารคล้ายเก๋งจีน แต่ตกแต่งตามแบบไทยและตะวันตก
หอชัชวาลเวียงชัย เป็นหอทรงกลมสูงสองชั้น หลังคาโค้งกรุกระจกสร้างขึ้นเป็นที่ศึกษาและสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์สามารถ ชมทิวทัศน์ของเมืองเพชรบุรีได้โดยรอบ ในอดีตเวลากลางคืนจะจุดโคมไฟแขวนไว้ภายในโดมกระจก เมื่อมองจากทะเลสามารถเห็น ได้แต่ไกลจึงเป็นที่หมายของชาวเรือในการเดินเรือเข้าอ่าวบ้านแหลมได้อย่างดี เป็นเจดีย์สีขาวที่มองเห็นเด่นแต่ไกล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะเจดีย์เก่าที่มีอยู่ก่อน แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้และพระราชทานนามว่า พระธาตุจอมเพชร
เขายอดกลาง เป็นพระธาตุจอมเพชร เป็นเจดีย์สีขาวที่มองเห็นเด่นแต่ไกล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะเจดีย์เก่าที่มีอยู่ก่อนแล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้และพระราชทานนามว่า พระธาตุจอมเพชร
ยอดเขาด้านทิศตะวันออก บริเวณไหลเขา เป็นที่ตั้งของ วัดมหาสมณาราม อยู่บริเวณเชิงเขาวัง เดิมชื่อวัดสมณะ หรือ วัดมหาสมน พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้เป็นที่ประทับเมื่อครั้ง ทรงผนวช ต่อมาเมื่อทรงสร้างพระนครคีรีแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัด แห่งนี้ พระราชทานนามว่า วัดมหาสมณาราม เรียกกันโดยทั่วไปว่า วัดเขาวัง ภายในโบสถ์ ฝาผนังทั้ง สี่ด้าน มีภาพ เขียนฝีมือขวัวอินโข่ง ซึ่งเป็นจิตรกรไทย คนแรก ที่ใช้วิธีการเขียนภาพแบบทัศนียวิทยา (perspective) คือ ใช้สีและแสงเงาในการวาด ให้เกิดมิติ มีระยะใกล้-ไกลและแบบภาพ มองจากมุมสูง (Birds-eye view) อย่าง ตะวันตก เป็นภาพเขียน เกี่ยวกับการไป นมัสการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนา
ยอดเขาด้านทิศตะวันออก เป็นที่ตั้งของวัดพระแก้วหรือวัดพระแก้วน้อย สร้างขึ้นเป็นวัดในเขตพระราชฐาน เช่นเดียวกับวัดพระแก้วใน พระบรมมหาราชวัง สิ่งที่ควรชมภายใน ได้แก่ - เจดีย์แดง ปรางค์จัตุรมุข ทาสีแดงทั้งองค์ - โบสถ์ มีสัดส่วนงดงามและมีหน้าบันเป็นลวดลายปูนปั้น รูปตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งเป็นตราประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าฯ จัดเป็นงานปูนปั้นที่มีชื่อเสียงชิ้นหนึ่งของเมืองเพชรบุรี - พระสุทธเสลเจดีย์ เป็นเจดีย์หินอ่อน สีเทาอมเขียว ที่มีประวัติการสร้างอันน่าทึ่ง คือ เมื่อสลักหินอ่อนเป็นชิ้น และประกอบที่เกาะสีชัง เสร็จแล้วได้รื้อนำลงเรือมาประกอบใหม่บนเขาแห่งนี้
ยอดเขาด้านทิศตะวันตก เป็นที่ตั้งของพระราชวังพระนครคีรี เป็นที่ตั้งของพระราชวังที่ประทับอันได้แก่
พระที่นั่งสันถาคารสถาน เป็นหมู่พระที่นั่งขนาดใหญ่ สำหรับต้อนรับแขกเมืองที่มาพักบนพระนครคีรี มีห้องรับ แขกอยู่ตรงกลาง สองข้างเป็นห้องนอน มีมุขหน้ายื่น - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี ปัจจุบันเป็นพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์และพระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์พระที่นั่งเพชรภูมิ ไพโรจน์เป็นพระที่นั่งองค์ใหญ่ที่สุดภายในจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดง เครื่องราชูปโภค เช่น พระแท่นบรรทม พระฉาย (กระจกเงา) บานใหญ่ เครื่องมุก เครื่องถ้วยชาม ตุ๊กตาโลหะฝีมือช่างยุโรป เป็นต้น พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ เป็นที่ประดิษฐาน พระแท่น บรรทมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
"พระที่นั่งสันถาคารสถาน" ที่มา : http://www.phranakhonkhiri.com/assets/theme/upload/showing/025.jpg |
พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท เป็นปราสาทยอดปรางค์ขนาดย่อมสร้างตามคติที่ว่าการสร้างพระราชวังใหญ่ จะต้องมีปราสาท ภายในประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์แบบที่เคยทรงในการเสด็จออกรับทูตานุฑูต - พระที่นั่งราชธรรมสภา สร้างด้วยศิลปะแบบผสมระหว่างไทย จีน และตะวันตก กล่าวคือ มีรูปทรงอาคารคล้ายเก๋งจีน แต่ตกแต่งตามแบบไทยและตะวันตก
หอชัชวาลเวียงชัย เป็นหอทรงกลมสูงสองชั้น หลังคาโค้งกรุกระจกสร้างขึ้นเป็นที่ศึกษาและสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์สามารถ ชมทิวทัศน์ของเมืองเพชรบุรีได้โดยรอบ ในอดีตเวลากลางคืนจะจุดโคมไฟแขวนไว้ภายในโดมกระจก เมื่อมองจากทะเลสามารถเห็น ได้แต่ไกลจึงเป็นที่หมายของชาวเรือในการเดินเรือเข้าอ่าวบ้านแหลมได้อย่างดี เป็นเจดีย์สีขาวที่มองเห็นเด่นแต่ไกล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะเจดีย์เก่าที่มีอยู่ก่อน แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้และพระราชทานนามว่า พระธาตุจอมเพชร
เขายอดกลาง เป็นพระธาตุจอมเพชร เป็นเจดีย์สีขาวที่มองเห็นเด่นแต่ไกล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะเจดีย์เก่าที่มีอยู่ก่อนแล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้และพระราชทานนามว่า พระธาตุจอมเพชร
ที่มา : http://img.tlcdn4.com/travel/2014/02/p18frkn1pb12qlon16f1g97123271.jpg |
การบูรณะ
เมื่อกรมศิลปากรบูรณะพระนครคีรีแล้ว มีประกาศจัดตั้งเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒ เป็นพิพิธภัณฑสถานประเภทอนุสรณ์สถาน โบราณศิลปวัตถุที่ตั้งแต่งอยู่ในห้องต่างๆแต่เดิมนั้นได้ถูกนำไปเก็บรักษาไว้ที่อื่น ยกเว้นเครื่องราชูปโภคบางองค์ที่ยังคงตั้งอยู่ในสภาพชำรุด กรมศิลปากรจึงดำเนินการบูรณะอาคารและนำเครื่องราชูปโภคทั้งหมดที่ได้รับมอบกลับคืนมาจากสำนักพระราชวัง และกระทรวงมหาดไทย นำมาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ อนุรักษ์และนำออกจัดแสดงภายในพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ และพระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ และจัดแสดงให้อยู่ในสภาพใกล้เคียงกับแบบเดิมให้มากที่สุด
การเดินทาง
1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (สายธนบุรี-ปากท่อ) ผ่านสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และอำเภอปากท่อ แล้วแยกเข้าทางหลวง หมายเลข 4 ไปจังหวัดเพชรบุรี รวมระยะทางประมาณ 123 กิโลเมตร หรือจากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านนครปฐม ราชบุรี ไปยังเพชรบุรี เป็นระยะทาง 166 กิโลเมตร เขาวัง อยู่ริม ถ.เพชรเกษมสายเก่า (ทางเข้าตัวเมือง)
2. โดยรถสาธารณะ
สามารถโดยทัวร์หรือรถตู้ที่จะเข้าตัวเมืองหัวหิน ชะอำ หรือเมืองเพชรบุรีแล้วลงระหว่างทางได้
เป็นยังไงกันบ้างคะ น่าเที่ยวใช่มั้ยล๊าาา ถ้าเพื่อนๆ มีโอกาสได้ไปสัมผัสกับบรรยากาศที่เขาวังแล้วก็อย่าลืมมาแชร์เรื่องราวที่น่าสนใจให้เราฟังด้วยน้าาา คงจะสวยไม่เบาเลย รับรองว่าถ้ามีโอกาสได้ไปเมื่อไหร่ เราจะรีบมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ได้อ่านแน่นอนนน 😃😃😄 💞 💗
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร 0-3242-5600 เลยจ้าา
เอกสารอ้างอิง
ไปด้วยกันดอทคอม.(มปป.).อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีีรี.ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2561 จาก http://www.paiduaykan.com/province/central/phetchaburi/khaowang.html
พระนครคีรี.(มปป.).ประวัติพระนครคีรี.ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2561 จาก http://www.phranakhonkhiri.com/web/history
เอิงเอย.(2557).เที่ยวเขาวัง.ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2561 จาก http://travel.trueid.net/detail/g5YZN9dYaJg
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น